blogger นี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอนรายวิชา อินเตอร์เน็ตเพื่อการสื่อสารในชีวิประจำวัน

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

ปักกิ่ง

ปักกิ่ง
ปราดเปรียว รักอิสระ ดูแลง่าย
   
ลักษณะทั่วไป
      สุนัข พันธุ์ปักกิ่งมีบุคลิกแบบสวย เริ่ด เชิด และหยิ่งในศักดิ์ศรี พร้อมด้วยอาการดื้อดึงแต่พองาม เป็นสุนัขที่มีความเป็นตัวของตัวเอง มีท่าทีการเคลื่อนไหวอย่างสง่างามระเหิดระหง อารมณ์ดีแต่สงบเงียบ ไม่เอะอะโวยวายหรือร่าเริงเกินเหตุ แต่ก็ใช่ว่าจะนิ่งจนน่าเบื่อ ถ้าอยู่กับเจ้านายหรือผู้ที่คุ้นเคยมันก็จะเล่นด้วยอย่างสนุกสนานน่ารัก นอกจากนี้ปักกิ่งยังเป็นสุนัขที่กล้าหาญ ไม่เคยมีประวัติเรื่องวิ่งหนีหางจุกตูด เป็นสายพันธุ์ที่แข็งแรง ทรหดอดทนและเลี้ยงง่าย ทั้งยังเป็นมิตรและซื่อสัตย์ต่อเจ้าของอย่างยิ่งด้วย
ความเป็นมา
      มีหลักฐานว่าคนจีนเลี้ยงสุนัขขนาดเล็กมาตั้งแต่ 1500 ปีก่อนแล้ว ในปี ค.ศ. 565 พระเจ้าจักรพรรดิประเทศจีนทรงพระราชทานนามสุนัขของพระองค์ว่า "ชิ ซู" หรือ "เสือแดง" เป็นสุนัขเปอร์เซียน เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิทรงม้า "เสือแดง" จะขึ้นไปนั่งบนตะกร้าที่ผูกไว้ด้านหน้าอานม้า ในปี ค.ศ. 620 มีบันทึกว่าสุนัขตัวผู้ตัวเมียคู่หนึ่ง สูงประมาณ 6 นิ้ว ถูกนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายจักรพรรดิเกาสู
      บันทึกอ้างว่าสุนัขคู่นี้มีความเฉลียวฉลาดมาก สามารถนำทางม้าในเวลากลางคืน หลักฐานทำนองนี้สืบเนื่องกันมากจนกระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 14 เมื่อราชวงศ์ของกุบไลข่านถูกพิชิตลง บันทึกหลักฐานต่างๆ ก็หมดสิ้นลงไปด้วย เป็นเวลาสืบเนื่อง 33 ปี เรารู้แต่ว่าคนจีนหันมานิยมเลี้ยงแมวแทนสุนัข โดยเฉพาะในสังคมชั้นสูง ธรรมเนียมการเลี้ยงสุนัขขนาดเล็กของจีนมาพุ่งขึ้นสู่จุดสูงสุดระหว่างปี ค.ศ. 1820 ถึง 1850 ในช่วงเวลานั้นมีสุนัขอยู่หลายพันธุ์ในนครปักกิ่ง พวกขันที 4000 คน ยังมีหน้าที่เฉพาะในการผลิตเพาะสุนัขแบบที่เราเรียกว่า "พันธุ์ปักกิ่ง" ด้วย
       พระนางซูสีไทเฮาทรงเป็นผู้ทำนุบำรุงกิจกรรมนี้ พระนางยังทรงกระตุ้นให้สร้างรูปแบบพันธุ์คล้ายกับ "สุนัขสิงห์โต" แบบเก่า กิจกรรมข้อหนึ่งก็คือจัดร่างกฎเกณฑ์แบบเฉพาะของสุนัข ข้อความที่นำมาเสนอแบบย่อๆ มีดังนี้ "จงให้มันสวมคลุมขนแห่งความสง่ารอบๆ คอ ขาคู่หน้าของมันจะต้องโค้ง เพื่อไม่ให้มันเดินออกไปไกลๆ หรือเดินออกนอกเขตพระราชฐาน จงสอนมันให้ละเว้นการเตร็ดเตร่ไปมา ให้มันมีขนเหมือนสิงห์โต เหมาะที่จะอุ้มไว้ในชายแขนเสื้อคลุม …" กฤษฎีกานี้ยังกำหนดต่อไปถึงอาหารของสุนัข เช่น "หูฉลาม" "ตับนก" และ "ส่วนอกนกกระทา" เราอาจจะไม่ถือเรื่องนี้เป็นจริงเป็นจังนัก อย่างไรก็ตามหลักฐานนี้ ทำให้เรารู้ว่ามีสุนัขพันธุ์ปักกิ่งเกิดขึ้นมาแล้ว และมักจะพบสุนัขพันธุ์นี้ในพระราชวังเท่านั้น ในสมัยก่อนผู้ใดขโมยสุนัขนี้จะได้รับโทษถึงประหารชีวิต
        พระราชวังแห่งปักกิ่งถูกชาวต่างชาติบุกเข้ายึดครองเมื่อปี ค.ศ. 1860 ก่อนการสูญเสียมีคำสั่งจากพระราชวงศ์ว่า  ให้สุนัขตายไปเสียดีกว่า จะให้ตกอยู่ในมือของคนต่างชาติ เจ้าฟ้าหญิงพระองค์หนึ่งไม่ยอมเสด็จหนี ทั้งไม่ยอมให้ทหารดรากูนเข้าจับกุมด้วย ทรงปลงพระชนม์ชีพของพระองค์เอง แต่ไม่ได้ทำลายสุนัขที่เลี้ยงไว้ สุนัขปักกิ่งสี่ตัวถูกทหารยึดได้ ตัวหนึ่งถูกส่งขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระราชินีวิคตอเรีย อีก 3 ตัวที่เหลือยุคแห่งริชมอนด์เลี้ยงดูไว้ ต่อมาก็มีผู้นำตัวอื่นๆ เข้าสู่อังกฤษอีก ตัวหนึ่งได้นำถวายควีนวิคตอเรีย ส่วนอีก 3 ตัวมอบให้ LORD HAY และได้แพร่พันธุ์กระจายไปทั่วไปโลก ซึ่งก็หมายถึงการเลี้ยงดูเพาะสร้างสายพันธุ์ที่ตามมา
      เรื่องราวเหล่านี้อ่านแล้วเหมือนนิยาย แต่ก็เป็นเรื่องจริง เรื่องคล้ายนิยายและความเกี่ยวพันกับราชวงศ์ซึ่งเป็นของสูงนี้ ทำให้พันธุ์ปักกิ่งได้รับความนิยมอย่างใหญ่หลวง ตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 8 มีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ เช่น LION DOG SUN DOG หรือ STEEVE DOG ปักกิ่งเป็นสุนัขขนาดเล็กที่น่าสนใจที่สุด และมีบุคลิกลักษณะที่ผิดธรรมดาที่สุด มันมีลักษณะผสมกันประหลาดๆ ของความขบขันและความทรนง เป็นเพื่อนที่ซื่อสัตย์ด้วยทั้งยังมีความหัวแข็งดื้อรั้นอย่างน่าทึ่ง บางครั้งก็ไม่ยอมรับคำสั่งโดยเด็ดขาด พวกมันชอบเก้าอี้นวมบุแพรไหม แต่ถ้ามีอารมณ์สนุกแล้วก็อกไปวิ่งไล่จับกระต่ายเลย
       ลักษณะเฉพาะตัวเหล่านี้ทำให้สุนัขพันธุ์นี้พุ่งขึ้นไปสู่ระดับสุดยอด พันธุ์ปักกิ่งไม่เคยหลุดออกจากยี่สิบอันดับแรกสุนัขยอดนิยมของอังกฤษ (Top Twenty) และยังคงติดอันดับสูงมาจนทุกวันนี้ สำหรับในสหรัฐอเมริกานั้นทั้งๆ ที่พันธุ์ปักกิ่งเพิ่งเข้าไปเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 แต่ก็เป็นสุนัขระดับยอดนิยมแล้ว
ลักษณะนิสัย
     สุนัขพันธุ์ ปักกิ่ง ปราศจากความกลัวต่อทุกสิ่งที่ทำให้ เขาโกรธ ไม่สนใจแม้กระทั่งขนาดสุนัขตัวอื่นหรือแม้แต่คนแปลกหน้า ความภักดีคือสิ่งที่บ่งบอกคุณลักษณะสุนัขพันธุ์นี้ได้ดีที่ สุดพวกเขาจะป้องกันทุกสิ่งที่พวกเขาคิดเป็นของพวกเขา
การดูแล
 
ปักกิ่ง ต้องการการเอาใจใส่ดูแลสัปดาห์ละครั้ง เพราะมีขนที่หนาและมีจำนวนมาก จึงต้องได้รับการแปรงขน และต้องทำความสะอาดขนเป็นประจำ นอกจากนั้นยังต้องทำความสะอาดบริเวณตา หู และบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ของตัวผู้ สัปดาห์ละครั้ง และตัดเล็บนิ้วเท้าให้สั้นอยู่เสมอ ปักกิ่ง ไม่เหมาะที่จะเลี้ยงนอกบ้าน เนื่องจากเป็น สุนัขกลุ่มทอยซึ่งจะรักความสะดวกสบาย และความอบอุ่นของการใช้ชีวิตภายในบ้าน ควรจูงสุนัขเดินบนแข็งๆ สม่ำเสมอแต่ไม่ต้องไกลมาก
 
 
 
 
ผู้เลี้ยงที่เหมาะสม
     สุนัขปักกิ่งเหมาะกับผู้เลี้ยงทุกเพศทุกวัย
ข้อควรจำ
     ปักกิ่ง ไม่ใช่สุนัขที่จะนอนเล่นบนตักคุณอยู่นิ่งๆ แม้ว่าเขาจะชอบถูกกอดรัดเป็นครั้งคราวและอาจจู้จี้ บ้าง เขาอยู่ได้กับคนทุกวัยและสามารถเป็นเพื่อนไป ได้ตลอดชีวิต รักสนุกและชอบเล่น ตอนเป็นลูกสุนัขควรมีของเล่นให้เขาได้เล่น และเมื่อพวกเขาโตขึ้นพวกเขาก็จะเล่นกับของเล่น หรือลูกบอลบนสนามหญ้าภายในบ้าน ปักกิ่ง ยอมรับสภาพแวดล้อมทุกแบบแต่ชอบอยู่ในพื้นที่ของตนมากกว่า
   
มาตรฐานสายพันธุ์
  
 
ขนาด
 เนื่องจากปักกิ่งเป็นสุนัขตุ๊กตา (TOY) จึงนิยมให้มีขนาดเล็ก โดยจะต้องมีลักษณะที่ถูกต้อง น้ำหนักจะต้องไม่เกิน 14 ปอนด์ 
ศีรษะ
 มีขนาดใหญ่ แข็งแรง กว้างและแบน ในช่วงระหว่างหูทั้งสองข้างจะต้องไม่มีโค้งนูนเป็นโดม มีระยะระหว่างตาทั้งสองข้างกว้าง 
สต๊อป
 หรือรอยต่อระหว่างสันจมูกกับหน้าผากจะต้องลึกมาก 
ปาก
 สั้นมาก กว้าง มีรอยย่น ไม่ยื่นแหลม แข็งแรง ขากรรไกรล่างกว้าง ฟันไม่ยื่นให้เห็นนอกริมฝีปาก 
ตา
 ตาโต สีเข้ม กลมนูนเด่นประกาย 
หู
 มีลักษณะเป็นรูปหัวใจ ไม่อยู่สูงเกินไป ยาวพอสมควร ปลายหูอยู่ระดับต่ำกว่าช่วงปากเล็กน้อย ห้อยตกลงแนบแก้ม ปกคลุมด้วยขนที่ยาวมาก 
จมูก
 จมูกสีดำ กว้าง สั้นและแบน 
ลำตัว
 ลำตัวช่วงหน้าใหญ่หนักแข็งแรง หน้าอกกว้าง ซี่โครงโค้งกว้างค่อยๆ เรียวลงทางด้านหลัง รูปร่างเหมือนสิงโต หลังเรียบขนานกับพื้น ลำตัวสั้นยกเว้นตัวเมียที่อาจยาวกว่าตัวผู้ได้เล็กน้อย 
ขา
 ขาสั้น ขาหน้ามีกระดูกช่วงบนโค้ง ไหล่แข็งแรง ขาหลังมีกระดูกที่เล็กบางกว่าเล็กน้อย แต่แข็งแรงและได้สัดส่วน 
เท้า
 เท้าแบน ปลายเท้าเฉียงออก ไม่มีลักษณะกลม จะต้องยืนได้มั่นคงบนเท้าไม่ใช่ยืนบนข้อเท้า 
หาง
 ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่สูง วางพาดไปบนหลัง ปลายหางตกลงด้านใดด้านหนึ่ง มีขนยาวตรงแน่นและฟูมาก 
ขน
 ขนยาว มีขนชั้นในที่หนาแน่น ขนมีลักษณะเป็นเส้นตรง เรียบไม่หยิกเป็นคลื่น ค่อนข้างหยาบแต่นุ่ม ขนบริเวณสะโพก ขา หางและหูจะต้องยาวและฟูมาก 
สีขน
 มีได้ทุกสีคือ แดง ฟอน (สีโทนน้ำตาล) ดำ ดำกับแทน (BLACK AND TAN) เซเบิล (ขนสีดำที่ปกคลุมสีของลำตัวที่อ่อนกว่า) บรินเดิ้ล (ขนสีเข้มและสีอ่อนขึ้นแซมกันทั่วตัว) ขาวและขน 2 สี (PATICOLOR) คือ จะต้องมีสี 2 สีที่แยกจากกันอย่างชัดเจนกระจายอยู่ทั่วตัว ไม่มีสีใดสีหนึ่ง เป็นบริเวณกว้างอยู่สีเดียว จะต้องมีสีขาวปรากฎบริเวณหลัง สำหรับสุนัขที่มีสีเดียว แต่มีเท้ากับหน้าอกยาว ไม่นับเป็นประเภทขนสองสี 
ขนและแผง
 ยาวและฟูมาก กว้างเกินหัวไหล่ ปกคลุมตลอดรอบลำคอ


อ่านต่อ : http://www.dogilike.com/breeds/24/%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87.php#ixzz25Z5qDap9

ยอร์คเชียร์

ยอร์คเชียเทอร์เรีย
ซุกซน ชอบอยู่ใกล้คน รักสวยรักงาม
   
ลักษณะทั่วไป
ยอร์คเชียร์เทอร์เรียเป็นสุนัขทอย พันธ์เล็กที่มีรูปร่างสมส่วน มีขนยาวปกคลุมตลอดลำตัว ขนยาว เรียบ ละเอียด เงา สลวยและเงางาม มีขนยาวที่หัว ซึ่งจะรวบหรือรัดด้วยโบว์ก็ได้ มีขนที่จมูกและปากยาว สีขนเป็นสีเงินออกน้ำเงินและสีทอง ลูกสุนัขเกิดใหม่จะมีสีน้ำตาลและสีดำ ลักษณะท่าทางจะบ่งบอกถึงความมั่นใจ กล้าหาญ กระตือรือล้น เชื่อฟังคำสั่งของเจ้าของ
ความเป็นมา
ยอร์กไชร์ เทอร์เรียร์ ได้รับ การพัฒนาราวๆ ช่วงกลางของศตวรรษที่19 โดยการผสมข้ามสายพันธุ์เทอร์เรียร์ ที่แตกต่างกันหลายๆ สายที่มีในช่วงนั้น โดยเกิดขึ้นที่ตอนกลางถึงตอนเหนือของประเทศอังกฤษ โดยเฉพาะในเมือง ยอร์คไชร์ จนเป็นที่มาของชื่อ ยอร์กไชร์ เทอร์เรียร์ยอร์กไชร์เทอร์เรียร์ ในช่วงแรกหนักถึง 6กก. และถูกใช้เช่นเดียวกับสายพันธุ์เทอร์เรียร์ อื่นๆ เพื่อกำจัดหนู เวลาต่อมา ผู้เพาะพันธุ์ที่ผลิตสายพันธุ์ที่เล็กกว่าสวยกว่า เพื่อเป็นสัตว์เลี้ยงในครอบครัวและเพื่อการประกวดมากกว่าเป็นสุนัขล่าหนู
ลักษณะนิสัย
เป็นสุนัขที่กล้าหาญไม่ค่อยจะเกรงกลัวอะไร และเป็นสุนัขเฝ้าบ้านที่ดี มีความสามารถที่จะได้ยินในระยะไกลๆได้ แต่ก็ไม่ใช่สุนัขที่เห่าพร่ำเพรื่อไม่มีสาเหตุ นอกจากนี้ยังเป็นสุนัขที่รักเจ้าของและมีความต้องการที่จะได้อยู่ใกล้ชิดกับเจ้าของ บางตัวชอบที่จะนอนบนเตียงเดียวกันกับเจ้าของ(ถ้าเจ้าของอนุญาต) เป็นสุนัขที่กระฉับกระเฉง โดยเฉพาะในช่วงเด็กๆ เค้าจะค่อนข้างคึกและซนมากๆ มักจะชอบวิ่งไล่จับหนู กบ แมลงหรือสัตว์ต่างๆที่ตัวเล็กพอๆกันหรือเล็กกว่า เป็นสุนัขที่มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูงจนเหมือนกับว่าเป็นสุนัขที่ดื้อ ไม่เชื่อฟังคำสั่ง จะทำอะไรก็ต่อเมื่อตัวเองอยากทำเท่านั้น
การดูแล
 
     การอาบน้ำให้ยอร์คเชียร์ อาจทำแค่ 1 ครั้ง/เดือนก็เพียงพอ การอาบน้ำควรทำในสถานที่ที่อากาศอบอุ่น
ก่อนอื่นต้องใช้สำลีอุดหูทั้งสองข้างเพื่อกันน้ำเข้า หู จากนั้นใช้มือข้าง
หนึ่งรองบริเวณอกของเขาเพื่อจับให้ เขายืนขึ้น (หากเป็นไปได้ ควรหาผ้า
รองกันลื่นมาวางรองพื้นเพื่อไม่ให้ขา
ของเขาลื่นไถลไปมาเวลาที่คุณจับเขายืน) เปิดน้ำจากฝักบัวอย่าให้แรง
มากนัก ค่อยๆ รดตัวเขาให้เปียกจนทั่ว ชโลมแชมพูให้ทั่วตัวและถูเบาๆ
ล้างทำความสะอาดบริเวณศีรษะ และใบหน้าเป็นอันดับสุดท้าย

ทั้งนี้ ต้องระวังอย่าให้แชมพูเข้าปากและตา จากนั้นล้างแชมพูออกด้วยน้ำสะอาด แล้วเช็ดด้วยผ้าขนหนู
ก่อนจะนำไปเป่าขนให้แห้งด้วยไดร์เป่าที่ใช้ความร้อนพ อเหมาะ เสร็จ
แล้วจึงใช้แปรงหวีขนเบาๆ ซึ่งการ
แปรงขนให้ยอร์กไชร์ เทอร์เรียร์ เป็นสิ่งที่ต้องทำเป็นประจำทุกวันสำหรับสุนัขพันธุ์นี้
 
 
 
ขนของ ยอร์กไชร์ เทอร์เรียร์ โดยทั่วไปจะยาวถึงพื้นจึงจำเป็นต้องแปรงขนประมาณ 1ชั่วโมงทุกๆ 2 วันเพื่อไม่ให้ขนพันกันยุ่ง ควรผูกรวบขนบนหัวไว้ไม่ให้ตกมาบริเวณตาของสุนัข แต่ถ้าไม่ต้องการยุ่งยากมากนักก็เพียงแต่ตัดขนให้สั้นก็ได้ พวกเขาจะมีความสุขมากถ้าพาเขาไปเดินเล่นหรือปล่อยให้วิ่งเล่นในสวนหลังบ้านส่วนเรื่องอาหารการกินของ ยอร์คเชียร์ ควรจะเป็นอาหารเม็ดจะดีที่สุด เพราะมีความสะดวกในการเก็บรักษา ในลูกสุนัขควรเลือกอาหารสูตรลูกสุนัข ซึ่งมีปริมาณโปรตีนสูง แต่สำหรับสุนัขโตอาจเลือกอาหารที่มีปริมาณโปรตีนเป็น ส่วนประกอบขั้นต่ำ ประมาณร้อยละ 20 ก็เพียงพอ และอาจผสมอาหารเปียกลงไปในอาหารเม็ดเพื่อเพิ่มความน่ ากินเป็นบางครั้งก็ได้ 
ผู้เลี้ยงที่เหมาะสม
ยอร์คเชียเทอร์เรียเหมาะสำหรับคนทุกช่วงอายุ ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีเด็กก็ตาม แต่ถ้ามีเด็กเด็กต้องได้รับคำแนะนำถึงวิธีการปฏิบัติต่อสุนัข และไม่ควรปล่อยให้อยู่กับสุนัขโดยไม่มีผู้ใหญ่ดูแล สิ่งที่สำคัญที่สุดเมื่อคุณเลี้ยง ยอร์กไชร์ เทอร์เรียร์ คือคุณมีเวลาเพียงพอที่จะดูแลเขาหรือไม่ เช่นเดียวกับสุนัขส่วนมากคือการทิ้งให้อยู่ลำพังเป็นเวลานานจะไม่ดีกับอารมณ์ของ ยอร์กไชร์ เทอร์เรียร์ เลย และถ้าทุกๆ คนในบ้านจะต้องไม่อยู่บ้านตลอดทั้งวันแล้วล่ะก็ จะดีมากที่สุดถ้าเลี้ยงสุนัขไว้ 2 ตัวเพื่อให้อยู่เป็นเพื่อนกัน
ข้อควรจำ
-
   
มาตรฐานสายพันธุ์
  
 
ขนาด
 ไม่เกิน 7 ปอนด์ 
ศีรษะ
 มีขนาดเล็ก ส่วนบนของหัวค่อนข้างแบน 
ฟัน
 มีขนาดใหญ่ ขนแบบเสมอหรือขบแบบกรรไกร 
ปาก
 มีขนาดไม่ยาวมาก 
ตา
 มีขนาดปานกลาง ตามีสีเข้ม ตาแวววาวเป็นประกาย 
หู
 มีขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นรูปตัว V หูตั้ง 
จมูก
 สีดำ 
ลำตัว
 มีลักษณะสั้น เส้นตรงอยู่ในแนวระดับ 
ขาหน้า
 ตรง ข้อศอกไม่บิดเข้าหรือออก เท้ากลม เล็บสีดำ นิ้วติ่งต้องตัดออก 
ขาหลัง
 เมื่อมองจากด้านหลังขาหลังตั้งตรง ข้อเท้าทำมุมพอประมาณ เท้ากลม เล็บสีดำ นิ้วติ่งต้องตัดออก 
หาง
 ตัดให้สั้นพอประมาณ หางตั้งอยู่เหนือระดับหลัง 
ขน
 คุณภาพของขนถือเป็นสิ่งสำคัญมาก ขนมีลักษณะเหยียดตรงเป็นประกายคล้ายแพรวไหมขนบริเวณลำตัวให้เสมอพื้น ขนบริเวณหัวยาวอาจจะผูกด้วยโบว์เดี่ยวหรือโบว์คู่ก็ได้ขนที่ผ่า เท้าตัดให้สั้น บริเวณลำตัวสีเทาเข้มเงา บริเวณหัว อก และขา สีน้ำตาลเงา 
 


อ่านต่อ :http://www.dogilike.com/breeds/29/%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2.php#ixzz25Z5BCRbv

เฟรนช์ บูลด็อก

เฟรนช์ บูลด็อก
อ้วนกลม หน้าย่น และอารมณ์ดี
   
ลักษณะทั่วไป
รูปร่างกลม ๆ ป้อม ๆ บวกกับขาสั้น ๆ ทำให้เวลาเดิน สะโพกของ เฟรนช์ บูลด็อก จะส่ายไปมา เมื่อรวมเข้ากับจมูกสั้น ย่น ปากกว้างที่ดูเหมือนยิ้มตลอดเวลา และใบหูอันใหญ่โตที่คล้ายกับหูค้างคาว
ความเป็นมา
     ประมาณปี 1860 มีสุนัข Bulldog มากมายในประเทศอังกฤษและสุนัขชนิดนี้ไม่ค่อยนิยมเลี้ยงเท่าไร สุนัขเหล่านี้บางส่วนถูกส่งเข้าไปในประเทศฝรั่งเศส และได้ผสมกับสุนัขพันธุ์ต่างๆในฝรั่งเศส จนในที่สุดเกิดเป็นสุนัขพันธุ์ เฟรนช์ บูลด็อก ( French Bulldog ) ขึ้นและสุนัขพันธุ์นี้เป็นที่นิยมเลี้ยง  ในประเทศฝรั่งเศสโดยเฉพาะสุภาพสตรี ปี 1880 ปารีส เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่นิยมของชาวอเมริกาผู้มั่งคั่ง และเมื่อมีข่าวสุนัขพันธุ์ใหม่เกิดขึ้น ต่างก็ต้องการอยากจะไปดูด้วยตาตนเอง
       สิ่งที่พวกเขาได้พบคือสุนัขพันธุ์ เฟรนช์ บูลด็อก สุนัขพันธุ์นี้มาจากอังกฤษ ความจริงอเมริกามีอิทธิพลในการเลือกเพาะพันธุ์นี้ขึ้นมาให้มีลักษณะอย่าง เฟรนช์ บูลด็อก ในปัจจุบันได้รับการยอมรับที่สามารถให้พัฒนาให้มีหัวอย่างมัสตีฟ ขากรรไกรเป็นรูปสี่เหลี่ยม ลำตัวกะทัดรัดและที่สำคัญคือที่ใบหูเหมือนค้างคาวอย่างที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้ เฟรนช์ บูลด็อก เป็นสุนัขพันธุ์เล็กน้ำหนักไม่เกิน 28 ปอนด์ หน้าเหมือน บูลด็อก ทั่วไป ริมฝีปากหนา จมูกหักสั้นเข้าไปด้านใน นัยน์ตาสดใส ลักษณะพิเศษคือใบหูเหมือนค้างคาว ซึ่งไม่มีสุนัขพันธุ์ใดในโลกนี้เหมือนเขาจะเห่าและขู่บ้าง แต่มีความเป็นมิตรชอบทำตัวเป็นเจ้าของบ้านมากกว่าเป็นผู้อารักขา พร้อมที่เป็นมิตรกับคนแปลกหน้าเสมอไม่ว่าจะเป็นคนแก่ เด็ก แมว และสัตว์อื่นๆ มีนิสัยขี้เล่น ร่าเริงรักเด็กขนาดใกล้เคียงกับ Pug และ Boston Terrier
ลักษณะนิสัย
ฉลาด กล้าหาญ ร่าเริง ชอบเล่น ชอบออกกำลังกาย และตื่นตัวอยู่เสมอ เป็นมิตร เข้ากับคนและสัตว์อื่น ๆ ได้ดี เฟรนช์ บูลด็อก เป็นสุนัขที่เห่าน้อย ไม่ทนต่ออากาศร้อน โดยเฉพาะตัวที่นำเข้าจากต่างประเทศ อาจจะยังปรับตัวไม่ได้ แต่สำหรับสุนัขเฟรนช์ บูลด็อก ที่เกิดในเมืองไทยจะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องสภาวะอากาศเท่าไรนัก
การดูแล
 

    ด้วยความที่เป็นสุนัขขนสั้น เฟรนช์ บูลด็อก  จึงไม่ต้องการการดูแลมาก แต่เขาจะผลัดขนในช่วงหน้าร้อน การออกำลังกายทำได้ง่าย โดยพาเขาเดินเล่นรอบๆ บ้านหรือโยนลูกบอลเล่นกับเขา เขาไม่ชอบการถูกทิ้งให้อยู่ตามลำพัง ผู้เลี้ยงต้องให้ความสำคัญ กับเรื่องระบบการหายใจของสุนัขด้วย  หายใจทางปากถี่ขึ้นจนผิดปกติ ควรรีบนำเขาเข้าที่ร่มหรือห้องแอร์โดยเร็ว และหากมั่นใจว่าเขาอาจจะเป็นฮีทสโตรก (ชักเนื่องจากความร้อน) ควรลดอุณหภูมิร่างกายของเขาให้เร็วที่สุด เช่น เอาน้ำราด เอาน้ำแข็งไปโปะ แล้วพาไปหาหมอให้ฉีดยากันชักโดยเร็ว
 
 
 
ผู้เลี้ยงที่เหมาะสม
เป็นสุนัขที่เลี้ยงไว้เป็นเพื่อนเด็กโตได้ดีเยี่ยม
ข้อควรจำ
เช่นเดียวกับสุนัขที่จมูกสั้นพันธุ์อื่นๆ ที่อาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจและในช่วงฤดูร้อน ที่มีสภาพอากาศร้อนจัดอาจทำให้เขาเกิดความเครียดได้
   
มาตรฐานสายพันธุ์
  
 
ขนาด
 ชนิดเล็กมีน้ำหนักน้อยกว่า 22 ปอนด์ ชนิดใหญ่มีน้ำหนักประมาณ 22-28 ปอนด์ 
ศีรษะ
 มีขนาดใหญ่คล้ายทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส หัวกะโหลกระหว่างหูค่อนข้างแบน 
หน้าผาก
 มีลักษณะโค้งเล็กน้อย แก้มมีกล้ามเน้อชัดเจน 
ปาก
 มีลักษณะกว้างและลึก มุมปากเหนียงและค่อนข้างหนา กรามแข็งแรงขณะหุบปากไม่เห็นฟันยื่นออกมา 
ตา
 มีสีเข้ม ขนาดปานกลาง ตาค่อนข้างกลม ตาค่อนข้างห่างจากหู ตาไม่ลึกหรือโปน 
หู
 มีลักษณะเหมือนหูค้างคาว โคนหูใหญ่ ค่อนข้างยาว ปลายหูกลม โคนหูอยู่ค่อนข้างสูง 
จมูก
 มีลักษณะสั้น รูจมูกกว้าง จมูกมีสีดำ หรือสีจาง ขึ้นอยู่กับสีของขน ดั้งจมูก มีมุมหักชัดเจนทำให้มีหลุมลึก 
คอ
 มีลักษณะกลมหนา หนังคอบริเวณลูกกระเดือก ค่อนข้างย่น 
อก
 กว้างและลึก 
ลำตัว
 มีลักษณะสั้นกลม เส้นหลังโค้ง บริเวณหัวไหล่ค่อนข้างกว้างบริเวณเอวเล็ก 
ขาหน้า
 มีกระดูกใหญ่ ขาหน้าค่อนข้าสั้น ขาหน้าประกอบด้วยกล้ามเนื้อขา ขาหน้าตั้งตรงขาหน้าทั้งสองห่างกันพอสมควร เท้าหน้าขนาดพอเหมาะนิ้วเท้าชิด 
ขาหลัง
 ประกอบด้วยกล้ามเนื้อขาหลังตรง ห่างกันพอประมาณข้อเท้าหลังอยู่ในระดับต่ำ เท้าหลังมีขนาดพอเหมาะนิ้วเท้าชิด เท้าหลังใหญ่กว่าเท้าหน้าเล็กน้อย 
หาง
 โคนอยู่ในระดับต่ำ หางตรงหรือเป็นเกลียวได้ หางค่อนข้างสั้น 
ขน
 ขนสั้นนุ่ม ขนมีหลายสี เช่น น้ำตาล ขาว น้ำตาลขาว หนังค่อนข้างย่น


อ่านต่อ : http://www.dogilike.com/breeds/26/%E0%B9%80%E0%B8%9F%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B9%8C%20%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%81.php#ixzz25Z4j63o5

ประวัติ เซนเบอนาด


ประวัติความเป็นมาของสุนัขพันธุ์เซนต์เบอร์นาร์ด




เซนต์ เบอร์นาร์ด เป็นสุนัขสายพันธุ์เก่าแก่ซึ่งถูกค้นพบโดยนักบุญเซนต์ เบอร์นาร์ด เดอ เมนธอน มีการสันนิษฐานว่า เซนต์ เบอร์นาร์ดน่าจะสืบเชื้อสายมาจากสุนัขขนาดใหญ่ในทวีปเอเชีย แล้วชาวโรมันนำไปแพร่พันธุ์ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์


ชาวสวิตเซอร์แลนด์นิยมเลี้ยงสุนัขเซนต์ เบอร์นาร์ด ไว้เพื่อช่วยชีวิตผู้เคราะห์ร้ายที่ถูกหิมะถล่มและถูกฝังอยู่ใต้หิมะ พวกเขาเป็นสุนัขที่มีสัมผัสที่หก พูดง่ายๆ ก็คือสามารถรับรู้ได้ถึงความผิดปกติในช่วงเวลาที่จะเกิดพายุหิมะ และสามารถรู้ว่าผู้เคราะห์ร้ายถูกหิมะฝังอยู่ ณ จุดใด ทั้งนี้มีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ยืนยันได้ว่าความสามารถแบบนี้เกิดจากพวกเขาได้ยินเสียงซึ่งมีความถี่ต่ำที่มนุษย์ไม่สามารถได้ยินนั่นเอง ดังนั้นภาพของเซนต์ เบอร์นาร์ด จึงมักจะถูกนำไปผูกโยงกับเรื่องของสุนัขกู้ภัยในภูเขาหิมะอยู่บ่อยครั้ง


ย้อนกลับไปเมื่อประมาณศตวรรษที่ 11 กลุ่มผู้แสวงบุญกลุ่มหนึ่งได้สร้างบ้านพักริมทางขึ้นบริเวณช่องเขา Grand Saint Bernard ซึ่งมีระดับความสูง 2,469 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล เพื่อเป็นที่พักของผู้แสวงบุญและพระธุดงค์ต่างๆที่ต้องใช้เส้นทาง ผ่านช่องเขานี้ และนับตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ก็ได้มีการเลี้ยงสุนัขภูเขาตัวใหญ่ไว้เพื่อเป็นยามคอยดูแลและปกป้องบ้านพัก การดำรงชีวิตของสุนัขดังกล่าวได้ถูกบันทึกไว้เป็นภาพวาดในปี ค.ศ. 1695 และเริ่มบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรเมื่อปี ค.ศ. 1707



สุนัขดังกล่าวได้กลายมาเป็นเพื่อนร่วมเดินทางและเป็นสุนัขกู้ภัยสำหรับนักเดินทางที่หลงอยู่ท่ามกลางพายุหิมะและม่านหมอก มีการบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับการช่วยชีวิตมนุษย์จาก “มัจจุราชขาว” ของสุนัขเหล่านี้จำนวนนับไม่ถ้วน เรื่องราวเหล่านี้ถูกแปลเป็นหลายภาษาและเผยแพร่ไปทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบันทึกคำบอกเล่าของทหารประจำหน่วย Bonaparte ซึ่งได้เดินทางผ่านช่องเขา Grand Saint Bernard ในปี ค.ศ. 1800 นั้นช่วยเพิ่มกิตติศัพท์ของสุนัขพันธุ์นี้ ซึ่ง ณ ขณะนั้นถูกเรียกว่า Barry-Dog ให้มีชื่อเสียงขจรขจายไปทั่วทวีปยุโรป


การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บที่ถูกฝังอยู่ใต้หิมะของน้องหมาเซนต์ เบอร์นาร์ด นั้น เริ่มจากน้องหมาจะออกตามหาผู้ประสบภัย เมื่อพบแล้วก็จะขุดร่างของผู้เคราะห์ร้ายขึ้นมาจากกองหิมะที่หนักหลายตัน จากนั้นก็นอนแนบร่างอันหมดสตินั้นไว้เพื่อให้ความอบอุ่นและเลียใบหน้าจนผู้เคราะห์ร้ายได้สติ ส่วนเซนต์ เบอร์นาร์ด อีกตัวก็จะวิ่งเข้าไปในหมู่บ้านเพื่อตามคนมาช่วย และพามายังสถานที่เกิดเหตุ..หลายคนสงสัยว่าทำไมจึงต้องมี “ถังไม้เล็กๆ” ผูกติดคอน้องหมาเซนต์ เบอร์นาร์ด เอาไว้ คำตอบก็คือในถังนั้นจะบรรจุเหล้าองุ่นหรือยาสำหรับให้ผู้ประสบภัยเปิดกินและใช้ปฐมพยาบาลเบื้องต้น น้องหมาเซนต์ เบอร์นาร์ด บางตัวอาจมีผ้าห่มผูกติดหลังเอาไว้เพื่อให้ผู้ประสบภัยห่มกันหนาวด้วย



ต่อมาได้มีการนำ เซนต์ เบอร์นาร์ด เดินทางเข้าสู่เมือง และมีการคิดค้นรูปแบบพันธุกรรมที่เหมาะสมจนเกิดการผสมพันธุ์และพัฒนาสายพันธุ์กระทั่งมีรูปแบบลงตัวอย่างที่ผู้เพาะพันธุ์ต้องการ โดยนาย Heinrich Schumacher จากเมือง Holligen ในสวิตเซอร์แลนด์ เป็นคนแรกที่เขียนเรื่องการพัฒนาสายพันธุ์ของสุนัข เซนต์ เบอร์นาร์ด ในปี ค.ศ. 1867 และในเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1884 ได้มีการจดทะเบียนสายพันธุ์สุนัข เซนต์ เบอร์นาร์ด กับ Schweizerisches Hundestammbuch (SHSB) สุนัขตัวแรกที่ลงทะเบียนคือ St. Bernard "LEON" และมีการตั้ง Swiss St.Bernard Club ขึ้นที่เมือง Basle เมื่อวันที่ 15 มีนาคม ปี ค.ศ. 1884


ในโอกาสที่มีการชุมนุม International Canine Congress เมื่อวันที่ 2 เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1887 สุนัขพันธุ์เซนต์ เบอร์นาร์ด ได้รับการยอมรับและยกย่องว่าเป็นสุนัขสายพันธุ์แท้ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และได้รับการประกาศให้เป็นสุนัขประจำชาติของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ นับแต่นั้นเป็นต้นมา

พันธ์เซนเบอนาด


ลักษณะนิสัยของสุนัขพันธุ์เซนต์ เบอร์นาร์ด


ข้อดีและข้อเสียของการเลี้ยงสุนัขพันธุ์เซนต์ เบอร์นาร์ด


 
  • ข้อดีของสุนัขพันธุ์ เซนต์ เบอร์นาร์ด คือ เป็นสุนัขเฝ้าบ้านที่ดี ไม่เห่าโดยไม่มีสาเหตุ ซื่อสัตย์ ใจเย็น และเข้ากับเด็กได้ดี
  • ส่วนข้อเสีย คือ น้ำลายที่มีมากเมื่ออากาศร้อน และเนื่องจากเป็นสุนัขขนาดใหญ่ จึงมีค่าใช้จ่ายสูงไม่ว่าจะเป็นค่าอาหาร ค่ายา และค่าเดินทาง


นิสัยใจคอของน้องหมาเซนต์ เบอร์นาร์ด


 
  • เป็นสุนัขที่สุภาพ เป็นมิตร อารมณ์ดี และใจดีมากถึงมากที่สุด เข้ากับคนและสัตว์อื่นได้ง่าย รักสนุก น่ารัก และชอบคนมากๆ เรื่องรักเจ้าของนั้นไม่ต้องพูดถึง เขามีความภักดีไม่แพ้สุนัขพันธุ์ใดในโลก จิตใจค่อนข้างอ่อนไหว หากอยู่ห่างจากเจ้าของนานๆอาจตรอมใจ เพราะเขาต้องการความเอาใจใส่และความรักจากเจ้าของและคนใกล้ชิดอยู่เสมอ ถ้าอายุมากแล้วเวลาส่วนใหญ่จะหมดไปกับการนอน รักสงบ ไม่นิยมหาเรื่องใคร และอดทนต่อสิ่งยุแหย่ได้ค่อนข้างดี ไม่ชอบอากาศร้อน แต่ถ้าอยู่ในประเทศที่มีอากาศหนาวจะเป็นสุนัขที่กระตือรือร้นมากพันธุ์หนึ่ง
  • ผู้ที่คิดจะเลี้ยงสุนัขพันธุ์เซนต์ เบอร์นาร์ด ควรมีประสบการณ์ในการเลี้ยงสุนัขมาบ้าง เพราะสุนัขพันธุ์นี้ต้องการการดูแลเอาใจใส่สูง และควรมีเวลาพาเขาออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

pommeranian